การเรียนรัฐประศาสนศาสตร์เป็นการเรียนการบริหารรัฐกิจ การบริหารรัฐกิจก็ต้องเรียนกฎหมาย เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายของการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ
ในการที่จะเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ให้ได้ดีนั้น เราต้องมาทำความเข้าใจกับรัฐประศาสนศาสตร์ก่อน ว่ามีขอบข่ายในการศึกษาอย่างไร มีองค์ความรู้อะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง เรียนแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติได้อย่างไรบ้าง เราเรียนไปเพื่ออะไร และสิ่งสำคัญที่เราควรรู้คือ รัฐประศาสนศาสตร์ คืออะไร
รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) หมายความถึงการ ศึกษาหาความรู้ในทุกเรื่องที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารงานภาครัฐ และ รัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความเป็น “ สหสาขาวิชา (Interdisciplinary) ” กล่าวคือ รัฐประศาสนศาสตร์ต้องอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา กฎหมาย และในบางกรณีอาจรวม ถึงความรู้ด้านที่เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้นรัฐประศาสนศาสตร์ จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ กิจการสาธารณะ (Public Affairs) ” ที่มุ่งศึกษาว่าจะมีวิธีดำเนินกิจกรรมที่ทำร่วมกันในสังคมอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนต้องการ
สถานภาพของรัฐประศาสนศาสตร์สรุปได้ดังนี้
1) รัฐประศาสนศาสตร์ คือ จุดสนใจที่ใช้สำหรับการศึกษา ไม่มีฐานะเป็น ศาสตร์เพื่อเป็นส่วนย่อยของวิชาอื่นใด
2) รัฐประศาสนศาสตร์เป็นสหวิทยาการ ซึ่งหมายถึง การอาศัยความรู้จาก หลายสาขาวิชามาอธิบายจุดที่ศึกษา
3) รัฐประศาสนศาสตร์เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งหมายถึง การมุ่งเน้น ที่นำเอาสังคมศาสตร์อื่นมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาการบริหาร ทั้งนี้ใน ปัจจุบันรัฐประศาสนศาสตร์ได้นำเอาความรู้จากศาสตร์อื่นๆ นอกเหนือจากสังคมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้อีกด้วย
4) รัฐประศาสนศาสตร์เป็นกึ่งวิชาชีพ ซึ่งหมาถึง วิชาชีพเป็นความหมาย ที่กว้าง
สรุปขอบข่ายของรัฐประศาสนศาสตร์ต่อลักษณะวิชา 5 วิชา คือ
1) รัฐประศาสนศาสตร์มีความสนใจต่อวิชาวิทยาการจัดการ เพื่อลดจุดอ่อนของนักรัฐประศาสนศาสตร์ให้น้อยลง เพื่อลดการพึ่งพาจากผู้เชี่ยวชาญและเพื่อนำความรู้ไปเป็นเครื่องมือในการเลือกวิธีแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น
2) รัฐประศาสนศาสตร์มีความสนใจต่อพฤติกรรมองค์การในส่วนของการ พัฒนาองค์การ เพื่อนำเอาองค์ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ไปใช้ให้เกิดผล ในโลกของความเป็นจริง เพื่อแก้ปัญหาขององค์การแบบระบบราชการและ ปัญหาความขัดแย้งได้ดียิ่งขึ้น
3) รัฐประศาสนศาสตร์มีความสนใจต่อการบริหารเปรียบเทียบในแนวทางของการ บริหารการพัฒนาในขอบข่ายของการศึกษากระบวนการในการนำนโยบายไปปฏิบัติและการแสวงกลยุทธ์ เพื่อให้การนำนโยบายไปปฏิบัติจริงบังเกิดความสำเร็จก็เพื่อแก้ปัญหาความล้มเหลวของการพัฒนาในอดีต
4) รัฐประศาสนศาสตร์มีความสนใจต่อวิชาการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ โดย การนำนโยบายไปปฏิบัติก็มีเหตุผลคล้ายกับความสนใจในส่วนของการบริหารการ พัฒนา แต่มีเหตุผลเพิ่มคือ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจชัดขึ้นด้านกระบวนการของ รัฐบาลและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน สามารถเชื่อมโยง ทฤษฎีเข้าสู่การปฏิบัติ
5) รัฐประศาสนศาสตร์มีความสนใจต่อทางเลือกสาธารณะก็เพื่อช่วยให้นักบริหารสามารถปรับตัวและหาวิธีการในการให้บริการในรูปแบบใหม่ เพื่อที่จะสนองตอบ ต่อความต้องการของประชาชนให้ได้มากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การเสนอความต้องการของตน ตลอดจนสามารถตรวจสอบการให้บริการของรัฐ ได้อย่างทั่วถึง
การเรียนรัฐประศาสนศาสตร์นั้น เป็นการหาความรู้จากหลายสาขาวิชามาประกอบกัน เพื่อให้ได้ความรู้จากรัฐประศาสนศาสตร์อย่างแท้จริง เพื่อนำไปปฏิบัติใช้ในการบริหารงานภาครัฐให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างสูงสุด เช่น ผู้ที่จบการศึกษาออกมาแล้วทำงานเป็นผู้นำของประเทศ สามารถแก้ไขปัญหาและสร้างเสถียรภาพให้กับประเทศได้ แสดงว่าผู้นั้นได้นำความรู้ความสามารถจากที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้จริง ถึงอย่างไรก็ต้องใช้ความรู้ด้านอื่นประกอบด้วย แต่การเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ก็ไม่เจาะจงว่าจะต้องมาบริหารงานภาครัฐๆ ได้อย่างเดียว ยังสามารถ นำมาบริหารงานภาคเอกชนได้ด้วยเช่นกัน
ในการที่เราศึกษาถึงขอบข่ายของรัฐประศาสนศาสตร์นั้นเป็นเพียงแนวทางในการเรียนรู้และให้เกิดความคิดซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนและผู้อ่านเท่านั้น และเป็นเพียงภาคทฤษฎี แต่การที่จะให้เห็นถึงประโยชน์จากการเรียนรัฐประ ศาสนศาสตร์อย่างแท้จริงนั้น คือการที่เราสามารถนำทฤษฎี ที่ได้มาจากการเรียนรัฐประศาสนศาสตร์มาปฏิบัติได้จริง ถึง จะแสดงว่าผู้ที่เรียนนั้นประสบความสำเร็จในการเรียนรัฐประ ศาสนศาสตร์เพราะรัฐประศาสนศาสตร์ คือ การบริหารงาน ภาครัฐเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น